กรุงเทพฯ เมืองจักรยาน เป็นจริงได้ด้วยมือผู้ว่าฯ กทม.
เป็นที่รู้กันดีว่าการเดินทางในระยะสั้นในเมืองด้วยรถยนต์ทำให้เกิดจราจรติดขัด รวมถึงเป็นปัญหาระดับประเทศอย่างการนำเข้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น อันมีส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเสียดุลการค้าและปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น รวมถึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ ทางออกในฝันของกรุงเทพฯ และชาวจักรยาน คือ การปรับเปลี่ยนให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่เอื้อต่อการเดินทางด้วยจักรยาน
ซึ่งจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของไทยได้อย่างยั่งยืน
ในวันที่ 22 กันยายน ของทุกปี เป็นวัน Car Free Day ซึ่งมีการถือปฏิบัติกันทั่วโลกในการประสานความร่วมมือกันของทุกภาคทุกฝ่ายเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลหันมาใช้รถขนส่งมวลชน รถจักรยาน หรือการเดินเท้ามากขึ้น ซึ่งครั้งนี้ชาวนักปั่นเองคงได้มีโอกาสเข้าร่วมแสดงพลังในการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้จักรยานบนท้องถนนในกรุงเทพฯ ถือเป็นกิจกรรมกู้วิกฤตโลกร้อนที่สร้างแรงบันดาลใจและเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ สู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการลดการปล่อยมลพิษจากภาคพลังงานและภาคการขนส่งที่เป็นมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดและเป็นต้นตอสำคัญของปัญหาโลกร้อน
สาเหตุหนึ่งที่สำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ ซึ่งกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้เผยข้อมูลว่า ในปี 2554 ที่ผ่านมาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากกว่า 6,000 ตันต่อวัน หรือ 2.2 ล้านตันต่อปี อันเป็นผลมาจากปริมาณการใช้น้ำมันรวม 25,897 ล้านลิตรต่อปี โดยเฉลี่ยแล้วรถทั้งหมดปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีละ 66,968,781 ล้านตัน และตัวเลขที่น่ากลัวนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
ในวัน Car Free Day ปีนี้จึงเป็นวันสำคัญที่มีการใช้จักรยานเป็นสื่อรณรงค์ให้ทุกคนร่วมกันลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลต้นเหตุของมลพิษ และในกิจกรรมครั้งนี้ นายมงคล วิจะระณะ อุปนายกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ให้ความเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่กรุงเทพฯ ควรจะเป็นเมืองที่เอื้อต่อการเดินทางด้วยจักรยานและรถขนส่งมวลชนซึ่งจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสุขภาพ และปัญหาการจราจรได้
การจะเปลี่ยนให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองจักรยานต้องเริ่มจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะถึงนี้ นายมงคล เสนอต่อชาวจักรยานและชาวกรุงเทพมหานครว่า “เราควรเลือกลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครที่มีนโยบายสนับสนุนเลนจักรยาน รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะ เพราะนโยบายดังกล่าวจะช่วยยกระดับชีวิตของคนในเมือง และช่วยแก้ปัญหามลพิษและการใช้พลังงานของประเทศไทย ซึ่งเมื่อประเมินจากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้กว่าหมื่นคนแล้วคิดว่าสามารถเป็นกำลังในการเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นของกรุงเทพฯได้”
"เมืองโบโกตา ประเทศโคลัมเบีย ซึ่งเป็นเมืองใหญ่มีประชากรแออัดคล้ายกับกรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งเคยมีปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมสูงมาก แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นเมืองจักรยานที่สามารถลดปัญหาจราจรได้ถึงร้อยละ 30 ถือเป็นเมืองต้นแบบที่กรุงเทพฯเองสามารถปฏิบัติตามได้ ทั้งนี้จากเส้นทางรัชดาภิเษกมีระยะทางประมาณ 46 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางวงกลมที่ล้อมรอบเมือง และน่าจะเป็นเส้นทางจักรยานที่สามารถปั่นได้อย่างปลอดภัย โดยผู้ที่มาจากชานเมืองสามารถใช้จักรยานแล้วเดินทางไปรอบเมืองได้โดยง่าย” นายมงคลเสนอเพิ่มเติม
นอกจากการขี่จักรยานจะเป็นการช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังถือเป็นการใช้พลังงานหมุนเวียนรูปแบบที่เราผลิตพลังงานและขับเคลื่อนเองได้ด้วยตัวของเราเอง ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของกฎหมายพลังงานหมุนเวียน เรียกได้ว่าผู้ขับขี่จักรยานเป็นอีกกำลังหนึ่งที่กำหนดอนาคตพลังงานหมุนเวียนของประเทศ และเป็นพลังสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการร่างกฎหมายพลังงานหมุนเวียนฉบับแรกของไทยที่ทางกรีนพีซกำลังผลักดันให้เกิดขึ้น
นายมงคลเห็นว่า กฎหมายพลังงานหมุนเวียนจะเป็นจริงได้ต้องอาศัยการร่วมมือจากทุกภาคทุกฝ่าย "สำคัญที่สุดคือภาครัฐต้องใช้อำนาจรัฐที่ได้งบประมาณจากภาษีประชาชนมาสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน อีกทั้งยังต้องเอื้อให้เกิดผลกำไรที่เหมาะสมต่อนายทุน เนื่องจากต้องการร่วมมือจากนายทุนให้เกิดการลงทุนพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่พึ่งพาพลังงานสะอาดโดยไม่คำนึงถึงการค้าน้ำมัน ส่วนประชาชนต้องเข้าใจสิทธิเสรีภาพของตนเองในการมีส่วนร่วมกำหนดอนาคตของประเทศไทย เช่นเดียวกับแนวคิดเรื่องกรุงเทพฯ เมืองจักรยานที่คนกรุงเทพฯ และชาวนักปั่นทุกคนสามารถกำหนดอนาคตของกรุงเทพฯ ด้วยการเลือกผู้นำที่สนับสนุนเรื่องนี้" ด้วยเหตุนี้ หากประเทศไทยมีกฎหมายพลังงานหมุนเวียนขึ้นมาบังคับใช้แล้วจะเป็นการเปิดช่องทางอีกช่องทางหนึ่งให้เราสามารถลงมือทำเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างจริงจัง
การที่จะทำให้สังคมไทยเอื้อต่อการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันได้นั้น ภาครัฐและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้นำและตัวเราเองจะต้องร่วมกันรณรงค์และส่งเสริมอย่างจริงจัง เริ่มจากการสนับสนุนผู้นำที่มีนโยบายสอดคล้องกับการพัฒนาเมืองสีเขียว พร้อมลงมือปรับปรุงการจราจรที่ยั่งยืน เพื่อเปลี่ยนให้เมืองใหญ่เป็นสถานที่ที่น่าอยู่ อากาศสดใส สูดหายใจได้อย่างเต็มปอด และเปลี่ยนเมืองหลวงแห่งมลพิษเป็นกรุงเทพฯ เมืองจักรยาน
ซึ่งจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของไทยได้อย่างยั่งยืน
ในวันที่ 22 กันยายน ของทุกปี เป็นวัน Car Free Day ซึ่งมีการถือปฏิบัติกันทั่วโลกในการประสานความร่วมมือกันของทุกภาคทุกฝ่ายเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลหันมาใช้รถขนส่งมวลชน รถจักรยาน หรือการเดินเท้ามากขึ้น ซึ่งครั้งนี้ชาวนักปั่นเองคงได้มีโอกาสเข้าร่วมแสดงพลังในการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้จักรยานบนท้องถนนในกรุงเทพฯ ถือเป็นกิจกรรมกู้วิกฤตโลกร้อนที่สร้างแรงบันดาลใจและเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ สู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการลดการปล่อยมลพิษจากภาคพลังงานและภาคการขนส่งที่เป็นมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดและเป็นต้นตอสำคัญของปัญหาโลกร้อน
สาเหตุหนึ่งที่สำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ ซึ่งกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้เผยข้อมูลว่า ในปี 2554 ที่ผ่านมาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากกว่า 6,000 ตันต่อวัน หรือ 2.2 ล้านตันต่อปี อันเป็นผลมาจากปริมาณการใช้น้ำมันรวม 25,897 ล้านลิตรต่อปี โดยเฉลี่ยแล้วรถทั้งหมดปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีละ 66,968,781 ล้านตัน และตัวเลขที่น่ากลัวนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
![]() |
นายมงคล วิจะระณะ อุปนายกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย |
การจะเปลี่ยนให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองจักรยานต้องเริ่มจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะถึงนี้ นายมงคล เสนอต่อชาวจักรยานและชาวกรุงเทพมหานครว่า “เราควรเลือกลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครที่มีนโยบายสนับสนุนเลนจักรยาน รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะ เพราะนโยบายดังกล่าวจะช่วยยกระดับชีวิตของคนในเมือง และช่วยแก้ปัญหามลพิษและการใช้พลังงานของประเทศไทย ซึ่งเมื่อประเมินจากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้กว่าหมื่นคนแล้วคิดว่าสามารถเป็นกำลังในการเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นของกรุงเทพฯได้”
"เมืองโบโกตา ประเทศโคลัมเบีย ซึ่งเป็นเมืองใหญ่มีประชากรแออัดคล้ายกับกรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งเคยมีปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมสูงมาก แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นเมืองจักรยานที่สามารถลดปัญหาจราจรได้ถึงร้อยละ 30 ถือเป็นเมืองต้นแบบที่กรุงเทพฯเองสามารถปฏิบัติตามได้ ทั้งนี้จากเส้นทางรัชดาภิเษกมีระยะทางประมาณ 46 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางวงกลมที่ล้อมรอบเมือง และน่าจะเป็นเส้นทางจักรยานที่สามารถปั่นได้อย่างปลอดภัย โดยผู้ที่มาจากชานเมืองสามารถใช้จักรยานแล้วเดินทางไปรอบเมืองได้โดยง่าย” นายมงคลเสนอเพิ่มเติม
การที่จะทำให้สังคมไทยเอื้อต่อการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันได้นั้น ภาครัฐและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้นำและตัวเราเองจะต้องร่วมกันรณรงค์และส่งเสริมอย่างจริงจัง เริ่มจากการสนับสนุนผู้นำที่มีนโยบายสอดคล้องกับการพัฒนาเมืองสีเขียว พร้อมลงมือปรับปรุงการจราจรที่ยั่งยืน เพื่อเปลี่ยนให้เมืองใหญ่เป็นสถานที่ที่น่าอยู่ อากาศสดใส สูดหายใจได้อย่างเต็มปอด และเปลี่ยนเมืองหลวงแห่งมลพิษเป็นกรุงเทพฯ เมืองจักรยาน
- โดย... รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์ ผู้ประสานงานด้านขับเคลื่อนพลังมวลชน
กรุงเทพฯ เมืองจักรยาน เป็นจริงได้ด้วยมือผู้ว่าฯ กทม.
Reviewed by zangzaew
on
21:30
Rating:
