❝พิพิธภัณฑ์จักรยาน..เมืองปลาดิบ (5)❞

จักรยานอีกคันหนึ่งในพิพิธภัณฑ์จักรยานแห่งนี้ น่าสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะส่วนของ "ที่ นั่ง" ซึ่งไม่ใช้เบาะอย่างทั่วๆ ไป แต่เป็นเชือกซึ่งได้รับการถักทอ กลายเป็นที่สำหรับนั่งปั่นจักรยาน
คันนี้เป็นผลงานการผลิตของ มิเกล พีเดอร์สัน (Mikael Pedersen) เร่ิมผลิตจักรยานในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1897 ถึง 1899 ต่อมาได้ก่อตั้งบริษัท เดอร์สลี่ย์-พีเดอร์สัน ขึ้นในปี ค.ศ. 1899 โดยมีผู้ก่อตั้งร่วมกันจำนานสามคน คือ โรเบิร์ต แอสตัน ลิสเตอร์ ( ต่อมาได้เป็น เซอร์แอสตัน ) และบุตรชายของเขาคือ ชาร์ลีส์ ลิสเตอร์ โดยหุ้นส่วนคนที่สามก็คือ มิเกล พีเดอร์สัน นั่นเอง
พวกเขาได้รับลิขสิทธิ์ในการผลิตเฟรมจักรยานจากบริษัท พีเดอร์สัน ไซเคิล เฟรม เพื่อผลิตจักรยานทั้งคันออกจำหน่าย แต่ก็ต้องปิดตัวไปในที่สุดเมื่อปี 1917
อย่างไรก็ตาม.. จักรยานที่ออกแบบโดยพีเดอร์สันนั้น มีจุดเด่นที่น่าสนใจ และแตกต่างจากจักรยานอื่นๆ ในขณะนั้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนของที่นั่งและโครงสร้างของเฟรม
- ที่นั่ง (The Seat)
วัสดุที่ใช้ในการถักเป็นที่นั่งนั้น ใช้เชือกที่ผลิตจากเส้นไหม ผสมผสานกับเส้นหนังและลวด มีความยาวรวมกันถึง 40 เมตร นำมาถักทอในรูปแบบที่เข้ากันกับการนั่งพอดิบพอดี ด้านหลังขึงไว้ด้วยขดลวดสปริงจำนวน 7 เส้น ช่วยซับน้ำหนักและแรงกระแทก
กลายเป็นเบาะนั่งที่นุ่มนวล ยืดหยุ่น รับน้ำหนักได้ดี และมีน้ำหนักที่เบากว่าเบาะแบบเดิมในขณะนั้น คือหนักเพียง 113 กรัม เป็นการลดน้ำหนักของที่นั่งลงมาจากของเดิมซึ่งหนักถึง 1.4 กิโลกรัม
- เฟรม
ตัวเหล็กที่ใช้ทำเฟรมได้รับการชุบทั้งภายในและภายนอก มีด้วยกันจำนวน 14 ชิ้นประกอบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยมีจุดเชื่อมโยงกันทั้งหมด 57 จุด ทำให้เกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมถึง 21 ชิ้นตลอดทั้งคัน เชื่อไหมว่า.. มันสามารถรองรับน้ำหนักคนตัวใหญ่ได้ถึง 90 กิโลกรัม
ด้วยความนิยม.. ทำให้พีเดอร์สันออกแบบจักรยานรูปแบบนี้ ถึง 8 ขนาดสำหรับผู้ชาย และอีก 3 ขนาดสำหรับผู้หญิง ทั้งหมดมีน้ำหนักที่เบามากเมื่อเทียบกับจักรยานยี่ห้ออื่นๆ ในยุคนั้น โดยมีน้ำหนักเพียง 9 กิโลกรัมเท่านั้น
- ตะเกียบหน้า
เห็นแล้วทึ่งในความคิดสร้างสรรค์จริงๆ เพราะนอกจากจักรยานแบบที่นั่งเดี่ยวแล้ว ยังได้มีการผลิตเป็นจักรแบบสองที่นั่ง รวมถึงจักรยานแบบมินิอีกด้วย

❝พิพิธภัณฑ์จักรยาน..เมืองปลาดิบ (5)❞
Reviewed by zangzaew
on
16:00
Rating:
